หลักการเบื้องต้น
(1) ภาพรวมการนำเสนอ: การทำ presentation โดยทั่วไปมีแค่ 2 แบบคือ แบบการนำเสนอเรื่องราว (เช่น เล่าเรื่องการไปสัมมนา สรุปข้อมูลผลงานวิจัย เป็นต้น) กับการขอความคิดเห็นที่ประชุม การเล่าเรื่องของทัังสองแบบมีความคล้ายกัน โดยหลักๆ คือ จะต้องบอกที่มา ใส่ข้อมูลที่ผู้ฟังจะต้องรู้ และสรุปตอนท้าย ว่าอยากให้คนฟัง action อะไร หรือได้อะไรจากข้อมูลการนำเสนอของเรา
presentation ส่วนใหญ่ ส่วนที่ขาดหายไปคือ สรุป หรือ action ที่จะให้คนฟังตัดสินใจ ทำให้คนฟังไม่รู้ว่าพูดจบแล้วจะต้องคิด หรือให้ความเห็นเรื่องอะไร หรือไม่ ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงสำหรับการนำเสนอ และหากมีการส่งเอกสารนั้นต่อไปยังผู้อื่น คนที่ได้รับเอกสาร จะยิ่งไม่เข้าใจว่าจะต้องทำอะไรกับเอกสารนั้น เพราะไม่มีข้อมูลส่วน action นั่นเอง
(2) เลือกจุดเด่น - ตัวหนังสือน้อยเข้าไว้ : การทำเอกสารนำเสนอ ต้องคิดไว้ว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้คนดูการนำเสนอนั้นอ่านข้อมูลได้เร็วที่สุด จำได้มากที่สุด การที่มีตัวหนังสือเยอะ หลายบรรทัด จะจำกัดความจำของผู้ดูเป็นอย่างมาก ดังนั้นการจัดตัวอีกษรให้พอเหมาะพอดีจึงสำคัญ หลักการก็คือ เนื้อหาควรมีสัดส่วนประมาณ 20-25% ของทั้งหน้าเท่านั้น หากไม่ได้จริงๆ เนื้อหาที่เป็นจุดเด่น ควรจะมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักรวมๆ 20-25% ของภาพ ดังรูปด้านล่าง หน้าสุดท้ายเป็นตัวอย่างการจัดตัวหนังสือให้เด่น ไม่จำเป็นต้องมีภาพประกอบ ก็ทำให้ slide เด่นขึ้นมาได้
[ตัวหนังสือเต็มพรืด อ่านไม่ทัน]
[จัดใหม่ ตัดข้อความที่ไม่สำคัญออก จัดขนาดตัวอักษร]
(3) FOCUS - อย่านำเสนอหลายสิ่งใน slide หน้าเดียว เพราะจะทำให้คนอ่านสับสน ความพยายามน้อย ความจำสั้น
[ข้อมูลน้อยๆ แต่ชัดๆ เด่นๆ]
(4) หลักการสมมาตร (BALANCE) การออกแบบที่ทำให้สองด้านเท่ากัน ทั้งด้านแนวตั้งและแนวนอน จะช่วยให้คนดูรู้สึกสบาย อ่านง่าย และทำให้ slide ดูเรียบสวยได้ง่ายๆ ทั้งๆ ที่มีแค่ตัวหนังสือ ดังตัวอย่างด้านล่าง
(5) RULE OF THIRDS/ BALANCE แบ่ง slide ออกเป็นส่วนๆ 3 ส่วน และจัดวางให้ balance กัน คำว่า balance ไม่ได้หมายถึงต้องอยู่ตรงกลาง แต่ให้ความรู้สึกทั้งสองด้านเท่าๆ กันไม่หนักไม่ด้านใดด้านหนึ่ง ดังรูป
การนำเสนอกราฟ
ต้องมีขนาดใหญ่พอ ตัวหนังสือไม่เล็กเกินไป ไม่มีคำอธิบายที่รกรุงรัง เพื่อการเข้าใจข้อมูลที่รวดเร็ว ด้านล่างเป็นการเลือกใช้กราฟ และการนำเสนอแบบต่างๆ
การเลือกใช้สี
ให้เลือกใช้สีที่ไม่ใช่โทนจัดเกินไป การเลือกโทนจัดเกินไป ไม่ควรให้สีตัดกัน โดยดูจาก color palette ด้านล่าง สามารถเลือกสีตรงข้ามกัน หรือสีใกล้กัน ในการจัดวางสีใน slide ได้ แต่มีข้อพึงระวังว่า ไม่ควรใช้เกิน 3 สี ต่อ 1 ภาพ และไม่ควรใช้สีจัดแบบ 100%
หารูปที่ไหนไม่ผิดลิขสิทธิ์
ปัจจุบันมีเว็บมากมากที่อนุญาตให้นำรูปไปใช้ได้ฟรี เราสามารถไปเลือกค้นหารูปจากเว็บต่างๆ เหล่านั้น และนำมาประกอบ slide การที่เลือกรูปได้สวยและเหมาะสม ก็จะทำให้ slide น่าดูได้ไม่ยาก
ตัวหนังสือ (font)
ตัวหนังสือประกอบ slide ก็มีผลอย่างมาก ขอเสนอเว็บ f0nt.com ที่แจกตัวหนังสือมีทั้งฟรี และลิขสิทธ์มากมาย ให้ไปดาวโหลด และเลือกแบบที่เหมาะสมกับการนำเสนอมาใช้ การเลือกใช้ขนาดของ font ที่ต่างกันในหน้าเดียวกัน ก็ทำให้ slide เราดูดีได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามความสำคัญของ font เป็นอันขาด
ทั้งหมดหลักการคิดที่อยากจะแลกเปลี่ยนสำหรับการทำเอกสารนำเสนอ คราวหน้า หากจะต้องทำ presentation อย่าลืมนึกถึงเรื่องเหล่านี้ presentation ของเราจะดูดีได้ง่ายๆ เพียงแค่เราคิดมากกว่าการใส่ข้อมูลลงไปอย่างเดียว
Credit: ภาพจาก freepik.com / font จาก f0nt.com
No comments:
Post a Comment